
แทร็คในรายการ Japannese GP ยังคงเป็นการชิงชัยที่ TwinRing จะประกอบด้วยโค้งแบบ Slow Corners ที่ซึ่งนักแข่งทุกคนจะต้องควบคุมจังหวะการเบรกกิ้ง และเบรกจะต้องถูกเซ็ทมาเพื่อสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม โดยในสนามนี้ Brembo ได้จานดิสก์ขนาด 340 มม.สำหรับภารกิจในเกมนี้ ก่อนอื่นเรามารู้จักสนามกันสักนิด คือ สนาม TwinRingMotegi แห่งนี้ เริ่มสร้างขึ้นในปี 1997 โดย Honda ตั้งอยู่ที่เมือง Motegi บนเกาะ Honshu เกาะที่ใหญ่ที่สุดหรือแผ่นดินที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น สำหรับสนามแห่งนี้จะถูกออกแบบคล้ายกับเป็นวงแหวนสองวง โดยวงนอกหรือแทร็คด้านนอกนั้นจะเป็นแทร็ควงรีหรือOval ส่วนด้านในจะเป็นแทร็คในแบบ Street Circuit หรือสนามแข่งปกติ ที่จะมีจุดเชื่อมกับ Oval ที่โค้ง 5-6 กับ 11-12 ความยาวต่อรอบสนามนั้น คือ 4,801 เมตร ที่จะแข่งขันกันทั้งสิ้น 24 รอบสนาม โดยมีเบรกโซนหรือจุดในการใช้เบรกทั้งสิ้น 10 จุด จากทั้งหมด 14 โค้งนั้น จุดมีความยากที่สุดหนักหน่วงที่สุดในจังหวะการใช้เบรกนั่นก็คือ โค้ง 11 โดยจะมีถึงเจ็ดโค้งที่จะใช้ความเร็วต่ำกว่า 100 กม./ชม. และนับตั้งแต่เปิดใช้ในการแข่งขันระดับเวิร์ลด์กรังด์ปรีซ์ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ปัญหาสำคัญของการเบรกหรือระบบเบรกบนแทร็คแห่งนี้ก็คือ การลดความร้อนให้กับระบบเบรก เนื่องจากการใช้เบรกนั้นอยู่ในระดับที่หนักหน่วงแบบโค้งต่อโค้งนั่นเอง เพราะฉะนั้นในสนามแห่งนี้ จึงต้องมีการระบุเงื่อนไขไว้ในกติกาของ FIM Regulations ว่า “ให้ใช้ดิสก์ขนาด 340 มม.” ซึ่งระดับตัวเลขของเรทความยาก 1-5 ในการจัดอันดับเกี่ยวกับการเบรกกิ้งในสนามแข่งจะพบว่า TwinRing ได้รับการจัดให้อยู่ในเรท 5
จากทั้งหมด 14 โค้งบนแทร็ค Twin Ring Motegi นี้ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า มีโซนเบรกทั้งสิ้นสิบจุด ซึ่งในหนึ่งรอบสนามนั้นจะใช้เวลากับการเบรก 35 วินาที โดยจะมีอยู่เพียงห้าโค้งที่ต้องใช้ระยะเวลาในจังหวะการเบรกมากกว่าสี่วินาที จากทั้งหมด 24 รอบสนามที่แข่งขันกัน เวลาในการเบรกกิ้ง จะคิดเป็น 33% ของเวลาในการแข่งขันทั้งหมดในการชิงชัย นั่นหมายความว่า “เบรกกิ้ง” คือ อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการแข่งขันที่นี่
จากทั้งสิบโซนการเบรกหรือสิบโค้งที่ต้องใช้เบรกนั้น จะมี สามโค้ง ที่จัดว่าต้องให้ความสำคัญกับจังหวะการเบรกกิ้งในระดับหนักหน่วง , ถัดมาอีกสี่โค้งจะมีความยากในระดับกลาง และมีอีกสามโค้งอยู่ในระดับเบา โดยโค้งที่ 11 นั้นเป็นจุดที่มีความหนักมากที่สุด กับโค้งที่ต้องเลี้ยวเป็นมุม 90 องศา ที่จะเกิดแรงดึงจากการกดเบรกในระดับ 1.5G โดยจะลดความเร็วจาก 308 กม./ชม. ในระยะเวลา 5.2 วินาที ลงมาเหลือความเร็วระดับ 86 กม./ชม. ซึ่งจะมีระยะเบรกประมาณ 263 เมตร โดยนักแข่งจะต้องกดลงบนคันเบรกเทียบเท่ากับน้ำหนัก 7.6 กก. ความยากรองลงมาก็คือการเผชิญกับแรงฉุดระดับ 1.4G จากจังหวะการเบรกนั่นก็ คือ โค้งที่ 5 ซึ่งมีจังหวะการเบรก 4.9 วินาที ที่จะลดความเร็วจาก 270 กม./ชม. ลงมาเหลือ 76 กม./ชม.บนระยะเบรก 222 เมตร ที่ซึ่งนักแข่งจะต้องออกแรงกดเทียบเท่าน้ำหนัก 7.9 กก.ลงบนคันเบรก
นอกจากนี้ก็ยังมีแรงในระดับ 1.4G จากการเบรก เช่นเดียวกันอีกสองโค้งก็คือ โค้ง3 ที่นักแข่งจะต้องออกแรงกดลงบนคันเบรกเทียบเท่าน้ำหนัก 7.4 กก.เพื่อลดความเร็วจาก 271 กม./ชม.ลงมาเหลือ 94 กม./ชม.ในเวลา 4.4 วินาที กับระยะทางเบรก 211 เมตร และอีกโค้งก็คือ โค้งที่ 1 ที่จะต้องลดความเร็ว จาก 279 กม./ชม.ลงมาเหลือ 85 กม./ชม. ในเวลา 5.3 วินาที กับระยะเบรก 250 เมตร โดยในโค้งนี้นักแข่งจะออกแรงกดลงบนคันเบรกเทียบเท่ากับน้ำหนัก 6.1 กก.
และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ทางเว๊ปไซด์โมโตไบค์เวิร์ลด์แม็กดอทคอมได้รับมาจาก Brembo ที่จะนำมาบอกกล่าวให้แฟนๆได้รู้ถึงอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของเกม MotoGP สนามถัดไปในสัปดาห์นี้ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่จะทำการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคมนี้ และวันนี้เป็นการลงทำการซ้อมในวันแรกเราพาไปชมภาพและผลการซ้อมทั้งสองFPกัน