​ก่อนเกมMotoGPที่สนามบ้านเกิดรอสซี่ กับการใช้เบรกในโค้งต่างๆของสนาม

Misano World Circuit Marco Simoncelli ตั้งอยู่ห่าง 12 ไมล์ จากเมือง Rimini และห่าง 1ไมล์ จากชายฝั่ง Adriatic Sea โดยสนาม Misano แห่งนี้ได้เติมชื่อของนักแข่งรุกกี้ชาวอิตาลีอย่าง Marco Simoncelli เข้าไปอย่างเป็นทางการในปี 2012 หลังจากที่เขาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในสนามแข่งเซปังฯประเทศมาเลเซีย สำหรับสนาม Misano แห่งนี้ ออกแบบในปี 1969 ก่อนที่จะได้รับการปรับปรุงครั้งหลังสุดในปี 2008 จนมีความยาวต่อรอบสนาม 4,226 เมตร ใช้รองรับการแข่งขันทั้ง WorldSBK และ MotoGP ซึ่งในสุดสัปดาห์นี้สนามแข่ง Misano ก็จะเปิดต้อนรับเหล่านักแข่งจากรายการ MotoGP อีกครั้ง กับรายการ Gran Premio Octo San Marino E Riviera Di Rimini ที่ซึ่งมีระดับความยากของจังหวะการเบรกกิ้ง จากเรท 1 ถึง 5 อยู่ที่ระดับ 3 ที่นับว่าเป็นระดับกลาง อยู่ในเกณฑ์เดียวกับสนามแข่งอย่าง Valencia ของสเปนนั่นเอง








 
จาก 16โค้ง ของสนาม Misano นี้ จะมีจุดเบรก หรือพื้นที่ที่ต้องการการเบรกกิ้งอยู่ทั้งหมด 9 จุด โดยตลอดระยะการแข่งขันจำนวน 27 รอบสนาม นั้นนักแข่งจะใช้เวลากับจังหวะการเบรกกิ้งเป็นเวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 13 นาทีครึ่ง นับตั้งแต่เริ่มออกสตาร์ทจนผ่านเส้นชัย โดยแรงกดลงบนคันเบรกนั้นจะเทียบเป็นน้ำหนักได้ประมาณ 1,130 กก.หรือในแต่ละรอบจะเทียบกับน้ำหนักได้ 41.9กก. และแรงดึงหรือแรงฉุดสูงสุดที่เกิดจากจังหวะการเบรกกิ้งในสนามนี้นั้นนักแข่งจะต้องเผชิญกับแรงเฉลี่ยระดับ 1.19G และจากเก้าเซ็คชั่นของจังหวะการเบรกกิ้งนั้นจะแบ่งเป็น สี่เซ็คชั่นในระดับกลาง กับ สี่เซ็คชั่นในระดับเบา นั่นหมายความว่า จะมีหนึ่งเซ็คชั่นที่มีระดับความยากในจังหวะการเบรกกิ้งอยู่หนึ่งจุด ซึ่งเซ็คชั่นในการเบรกกิ้งที่ยากที่สุดของสนาม Misano นี้ก็คือ โค้งที่ 8 ที่ซึ่งนักแข่งจะต้องลดความเร็ว จาก 294 กม./ชม.ลงมาเหลือ 79 กม./ชม. ในเวลา 4.8 วินาที กับระยะเบรก 222 เมตร โดยจะใช้แรงกดลงบนคันเบรกเทียบเท่ากับน้ำหนัก 6.0 กก. ซึ่งจะเกิดแรงดึงจากการเบรกกิ้งในเซ็คชั่นนี้อยู่ที่ระดับ 1.5G








 
ระดับความยากของจังหวะการเบรกกิ้งที่รองลงมาก็คือ โค้งที่ 1 ซึ่งต้องลดความเร็วในเวลา 3.9 วินาที จาก 271 กม./ชม. ลงมาเหลือ 115 กม./ชม. บนระยะเบรก 206 ม. กับแรงกดเทียบเท่ากับน้ำหนัก 5.8 กก. บนคันเบรก โดยจะเกิดแรงในระดับ 1.4G จากเซ็คชั่นนี้  อีกเซ็คชั่นที่เกิดแรงฉุดจากการเบรกกิ้งในระดับ 1.3G ก็คือ โค้งที่ 16 ด้วยการลดความเร็วจาก 197 กม./ชม. เหลือ 104 กม./ชม.บนระยะเบรก 113 ม. ในเวลา 2.7 วินาที โดยจะใช้แรงกดคันเบรกเทียบกับน้ำหนัก 6.1 กก. สำหรับโค้งอื่นๆนั้นก็จะเกิดแรงในระดับ 0.8G-1.2G กับจังหวะการเบรกกิ้งของสนามแห่งนี้ที่มีความต้องการใช้เบรกทั้งสิ้นเก้าเซ็คชั่น ที่นักแข่งในรายการ MotoGP จะกลับคืนสู่สังเวียนกันใน ระหว่างสุดสัปดาห์นี้







UIP : 565 | Page View : 577